top of page

          แนวคิดทางการสอนเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับการสอนที่พรรณนา อธิบาย ทำนายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางการสอนที่นักคิด นักจิตวิทยา หรือนักการศึกษา ได้นำเสนอและได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งว่าเป็นแนวคิดที่น่าเชื่อถือด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gagne) นักปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกา (1916-2002) ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการสอน คือ ทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition of Learning) โดยทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ จัดอยู่ในกลุ่มผสมผสาน (Gagne’s Eclecticism) ซึ่งเชื่อว่าความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้งบางประเภทมีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง กาเย่ได้จัดขั้นการเรียนรู้ซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยผสมผสานทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธินิยมเข้าด้วยกัน (ทิศนา แขมมณี. 2557 :72-75)

หลักสำคัญของการเรียนรู้กาเย่

ประเภทของการเรียนรู้

1. การเรียนรู้สัญญาณ (Signal -Learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ผู้เรียนไม่สามารถบังคับพฤติกรรมไม่ให้เกิดขึ้นได้ การเรียนรู้แบบนี้เกิดจากการที่คนเรานำเอาลักษณะการตอบสนองที่มีอยู่แล้วมาสัมพันธ์กับสิ่งเร้าใหม่ที่มีความใกล้ชิดต่อสิ่งเร้าเดิม การเรียนรู้สัญญาณเป็นลักษณะการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขของพาฟลอฟ

2. การเรียนรู้สิ่งเร้า - การตอบสนอง (Stimulus-Response Learning) เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง แตกต่างจากการเรียนรู้สัญญาณ เพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้ควบคุมพฤติกรรมเองได้ ผู้เรียนแสดงพฤติกรรม เนื่องจากได้รับการเสริมแรง การเรียนรู้แบบนี้เป็นการเรียนรู้แบบทฤษฏีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงของธอร์นไดรค์ และการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (Operant Conditioning) ของสกินเนอร์ ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำเองมิใช่รอให้สิ่งเร้าภายนอกมากระทำพฤติกรรมที่แสดงออกเกิดจากสิ่งเร้าภายในของผู้เรียนเอง

3. การเรียนรู้เชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (Chaining) เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองที่ต่อเนื่องกันตามลำดับ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำการเคลื่อนไหว

4. การเชื่อมโยงทางภาษา (Verbal Association) เป็นการเรียนรู้ในลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา การเรียนรู้แบบกับการรับสิ่งเร้า-การตอบสนอง เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้แบบต่อเนื่องและการเชื่อมโยงภาษา

4. การเชื่อมโยงทางภาษา (Verbal Association) เป็นการเรียนรู้ในลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา การเรียนรู้แบบกับการรับสิ่งเร้า-การตอบสนอง เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้แบบต่อเนื่องและการเชื่อมโยงภาษา

5. การเรียนรู้ความแตกต่าง (Discrimination Learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะความแตกต่างตามลักษณะของวัตถุ

6. การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (Concept Learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันได้ พร้อมทั้งสามารถขยายความรู้ไปยังสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากที่เคยเห็นมาก่อนได้

7. การเรียนรู้กฎ (Rule Learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิดรวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น การที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ กันได้

8. การเรียนรู้การแก้ปัญหา (Problem Solving) เป็นการเรียนรู้ที่แก้ปัญหาโดยการนำกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มาใช้ การเรียนรู้แบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดภายในตัวผู้เรียน เป็นการใช้เกณฑ์ในขั้นสูงเพื่อแก้ปัญหาค่อนข้างซับซ้อน และสามารถนำกฎเกณฑ์ในการแก้ปัญหาไปใช้ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้

สมรรถภาพการเรียนรู้ของมนุษย์

มี 5 ประการดังนี้

1. สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง (Verbal Information) เป็นความสามารถในการเรียนรู้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ โดยอาศัยความจำและความสามารถระลึกได้

2. ทักษะเชาว์ปัญญา (Intellectual Skills) หรือทักษะทางสติปัญญาเป็นความสามารถในการใช้สมองคิดหาเหตุผล โดยใช้ข้อมูล ประสบการณ์ ความรู้ ความคิดในด้านต่าง ๆ นับตั้งแต่การเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นทักษะง่าย ๆ ไปสู่ทักษะที่ยากซับซ้อนมากขึ้น ทักษะเชาว์ปัญญาที่สำคัญที่ควรได้รับการฝึกคือ ความสามารถในการจำแนก (Discrimination) ความสามารถในการคิดรวบยอดเป็นรูปธรรม (Concrete Concept) ความสามารถในการให้คำจัดความของความคิดรวบยอด (Defined Concept) ความสามารถในการเข้าใจกฎและใช้กฎ (Rule) และความสามารถในการแก้ปัญหา (Problem Solving)

4. ทักษะการเคลื่อนไหว (Motor Skills) เป็นความสามารถ ความชำนาญในการปฏิบัติ หรือการใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการท ากิจกรรมต่าง ๆ ผู้ที่มีทักษะการเคลื่อนไหวที่ดีนั้น พฤติกรรมที่แสดงออกมาจะมีลักษณะรวดเร็ว คล่องแคล่ว และถูกต้องเหมาะสม

3. ยุทธศาสตร์ในการคิด (Cognitive Strategies) เป็นความสามารถของกระบวนการท างานภายในสมองของมนุษย์ ซึ่งควบคุมการเรียนรู้ การเลือกรับรู้ การแปลความและการดึงความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมออกมาใช้ ผู้มียุทธศาสตร์ในการคิดสูง จะมีเทคนิค มีเคล็ดลับในการดึงความรู้ความจำความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมที่สะสมเอาไว้ออกมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาที่มี สถานการณ์ที่แตกต่างกันได้อย่างดี รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์

5. เจตคติ (Attitudes) เป็นความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อการตัดสอนใจของบุคคลนั้นในการที่จะเลือกกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ระบบการสอนกาเย่ กาเย่ได้เสนอระบบการสอนไว้ 9 ขั้น

         ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ (Gaining Attention) เป็นขั้นที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากสิ่งยั่วยุภายนอกและแรงจูงใจที่เกิดจากตัวผู้เรียนเอง ด้วย ครูอาจวิธีสนทนา ซักถาม ทายปัญหา หรือมีวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวและมีความสนใจที่จะเรียนรู้

          ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์ (Informing the Learner of The Objective) เป็นการบอกให้ผู้เรียนทราบถึงเป้าหมายหรือผลที่จะได้รับจากการเรียนบทเรียนนั้นโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์ต่อการเรียน เห็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนทำให้ผู้เรียนวางแผนการเรียนของตนเองได้ นอกจากนั้นยังสามารถช่วยให้ครูดำเนินการสอนตามแนวทางที่ จะนำไปสู่จุดหมายได้เป็นอย่างดี

          ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น (Stimulating Recall of Prerequisite Learned Capabilites) เป็นการทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อโยงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ความรู้ใหม่ เนื่องจากการเรียนเป็นกระบวนการต่อเนื่อง การเรียนรู้ใหม่ต้องอาศัยความรู้เก่าเป็นพื้นฐาน

NineEvents.jpg

           ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่ (Presenting the Stimulus) เป็นการเริ่มกิจกรรมของบทเรียนใหม่โดยใช้วัสดุต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาประกอบการสอน

          ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้ (Providing Learning Guidance) เป็นการช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ครูอาจแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าเป็นการนำทาง ให้แนวทางให้ผู้เรียนไปคิดเอง เป็นต้น

          ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ (Eliciting the Performance) เป็นการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสดงพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์

          ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Giving Feedback) เป็นขั้นที่ครูให้ผลการปฏิบัติกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกมาว่ามีความถูกต้องหรือไม่ อย่างไร และเพียงใด

          ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ (Assessing the Performance) เป็นขั้นวัดและประเมินว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียนเพียงใด ซึ่งอาจทำการวัดโดยใช้ข้อสอบ แบบสังเกต การตรวจผลงาน หรือการสัมภาษณ์ แล้วแต่จุดประสงค์นั้นต้องการวัดพฤติกรรมด้านใด แต่สิ่งสำคัญคือ เครื่องมือที่ใช้วัดจะต้องมีคุณภาพ มีความเชื่อถือได้ และมีความเที่ยงตรงในการวัด

          ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้ (Enhancing Retention and Transfer) เป็นการสรุป การย้ำ ทบทวนการเรียนที่ผ่านมาเพื่อให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมที่ฝังแน่นขึ้น กิจกรรมขั้นนี้อาจเป็นแบบฝึกหัด การทำกิจกรรมเพื่อให้เพิ่มพูนความรู้ รวมทั้งการให้ทำการบ้าน การทำรายงาน หรือหาความรู้เพิ่มเติมจากความรู้ที่ได้ในชั้นเรียน

          สรุปได้ว่า ระบบการสอนของกาเย่ มีขั้นตอนการสอนที่เริ่มจากเรื่องที่ง่าย ไปหาเรื่องที่ยาก แบ่งขั้นการสอนออกเป็น 9 ขั้น ซึ่งระบบการสอนของกาเย่มีการเชื่อมโยงการเรียนรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อเร้าการตอบสนองของผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ การเรียนรู้ข้อเท็จจริง ใช้สมองในการคิด การรับรู้ รวมทั้งทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกายและเจตคติ

การจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการ 9 ขั้นตอนของกาเย่

ขั้นที่ 1 การเร้าความสนใจก่อนที่จะเริ่มนำเสนอเนื้อหาควรมีการเร่งเร้าความสนใจ เป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนพร้อมที่จะศึกษาเนื้อหาต่อไป

1.

ขั้นที่ 2 บอกจุดประสงค์ของการเรียน ผู้เรียนจะทราบถึงความคาดหวังของบทเรียนจากผู้เรียน เป็นการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าถึงประเด็นสำคัญของเนื้อหาโดยรวม ช่วยให้สามารถผสานแนวความคิดในส่วนย่อยของเนื้อหาให้สอดคล้อง สัมพันธ์กับเนื้อหาส่วนใหญ่ได้ สิ่งที่ต้องพิจารณามีดังนี้

                    - บอกวัตถุประสงค์โดยเลือกใช้ประโยคสั้นๆ ได้ใจความ

                    - ไม่กำหนดวัตถุประสงค์หลายข้อเกินไป

                    - บอกการนำไปใช้งานให้ผู้เรียนทราบ ว่าหลังจากจบบทเรียน                                   สามารถนำไปประยุกต์ใช้อะไรได้บ้าง

2.

ขั้นที่ 3 การทบทวนความรู้เดิม

                    - ควรมีการทดสอบความรู้พื้นฐานหรือนำเสนอเนื้อหาเดิมที่เกี่ยวข้อง

                    - แบบทดสอบต้องมีคุณภาพสามารถแปลผลได้

                    - การทบทวนหรือการสอบควรใช้เวลาสั้นๆ ตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด

3.

ขั้นที่ 4 การนำเสนอเนื้อหาใหม่ การใช้ภาพประกอบให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้นมีความคงทนในการจำ

                    - เลือกใช้ภาพประกอบการนำเสนอเนื้อหาให้มากที่สุด

                    - ใช้แผนภูมิภาพประกอบสัญลักษณ์

                    - จัดรูปแบบของคำอธิบายให้น่าอ่านหากเนื้อหายาวควรจัดแบ่งกลุ่มคำเนื้อหาให้จัดเป็นตอนๆ

4.

ขั้นที่ 5 การชี้แนวทางการเรียนรู้ บางทฤษฎีกล่าวว่าการเรียนรู้ที่กระจ่างชัดทางเดียวที่จะเกิดขึ้นได้ก็คือการที่ผู้เรียนวิเคราะห์และตีความเนื้อหาใหม่ลงบนพื้นฐานของความรู้และประสบการณ์เดิมรวมกัน ดังนั้นหน้าที่ผู้สอนคือพยายามค้นหาเทคนิคในการกระตุ้นให้ผู้เรียนนำความรู้เดิมมาใช้ โดยบทเนียนจะชี้จุดกว้างๆแล้วค่อยๆแคบลง การให้ตัวอย่าง ให้ผู้เรียนวิเคราะห์หาคำตอบด้วยตนเอง

                    - บทเรียนควรแสดงให้ผู้เรียนเห็นถึงความสัมพันธ์ของเนื้อหาความรู้และช่วยให้เห็นว่าสิ่งย่อยนั้นมีความสัมพันธ์กับสิ่งใหญ่อย่างไร

                    - นำเสนอตัวอย่างที่แตกต่างกันเพื่อช่วยอธิบายความคิดรวบยอดใหม่ให้ชัดเจนขึ้น

                    - การนำเสนอเนื้อหาที่ยาก ควรให้ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม

                    - บทเนียนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนนึกถึงความรู้และประสบการณ์เดิมที่ผ่านมา

5.

ขั้นที่ 6 การกระตุ้นการตอบสนอง นักการศึกษาการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากเพียงใดขึ้นอยู่กับระดับและขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูลหากผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิดร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหาและร่วมตอบคำถามจะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่อ่านเพียงอย่างเดียว ผู้เรียนสามารถมีกิจกรรมร่วมในบทเรียนไดหลายลักษณะไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถาม การเลือกกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน มีข้อแนะนำดังนี้

                    - ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสตอบสนอง ต่อบทเรียนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งตลอดบทเรียน

                    - ถามคำถามเป็นช่วงๆ สลับกับการนำเสนอเนื้อหา

                    - เร่งเร้าความคิดจินตนาการด้วยคำถาม

                    - ไม่ควรถามครั้งเดียวหลายๆคำถาม หรือถามครั้งเดียวแต่ตอบได้หลายคำตอบ

                    - หลีกเลี่ยงการตอบสนองซ้ำหลายๆเมื่อผู้เรียนทำผิด

6.

ขั้นที่ 7 การให้ข้อมูลย้อนกลับ

                    - ให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีหลังจากผู้เรียนตอบโตกับบทเรียน

                    - ควรบอกให้ผู้เรียนทราบว่าตอบถูกหรือผิด

                    - เฉลยคำตอบที่ถูกต้องหลังจากที่ผู้เรียนตอบผิด 2-3 ครั้งไม่ควรปล่อยเวลาให้เสียไป

                    - อาจใช้วิธีการให้คะแนนหรือ แสดงภาพเพื่อบอกความใกล้ ไกล จากเป้าหมาย

                    - พยายามสุ่มการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อเรียกความสนใจตลอดบทเรียน

7.

ขั้นที่ 8 การทดสอบความรู้ การทดสอบความรู้ใหม่หลังจากศึกษาเรียกว่าการทดสอบหลังเรียน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่ นอกจากจะเป็นการประเมินผลการเรียนรู้แล้วยังมีผลต่อความคงทนในการจดจำเนื้อหาของผู้เรียนด้วยแบบทดสอบ จึงควรถามแบบเรียบลำดับวัตถุประสงค์ของบทเรียนถ้ามีหลายเรื่องย่อย อาจแยกแบบทดสอบออกเป็นส่วนๆตามเนื้อหา

                พิจารณาการออกแบบทดสอบดังนี้

                    - ชี้แจงวิธีการตอบคำถามให้ผู้เรียนทราบก่อนอย่างแจ่มชัดรวมทั้งคะแนนรวมคะแนนรายข้อและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่นเวลาที่ใช้ทดสอบ

                    - แบบทดสอบต้องวัดพฤติกรรมตรงกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนและเรียงจากง่ายไปยาก

                    - แบบทดสอบควรมีค่าความยากอำนาจจำแนกเหมาะสม มีความเชื่อมั่นเหมาะสม

8.

ขั้นที่ 9 การนำความรู้ไปใช้ บทเรียนต้องสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้เองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว ในขณะเดียวกันต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมเพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาในบทเรียนถัดไป หรือนำไปประยุกต์ใช้ได้

9.

bottom of page